ถ้าพูดถึงยา แหมๆๆ หลายคนคงไม่ชอบเพราะรสชาติไม่อร่อยแน่ๆ แต่จริงๆ แล้วผลไม้ทุกชนิด ผักทุกอย่างล้วนแล้วแต่มีสรรพคุณทางยา และสารอาหารที่เหมือนกัน โดยมากจะไม่รู้ตัวว่าอาหารที่เรารับประทานกันเข้าไปจริงแล้วให้สรรพคุณทางยาด้วย ทั้งนี้การรับประทานผลไม้แต่ละชนิด แต่ละช่วงเวลาก็จะให้สรรพคุณทางยาไม่เหมือนกันอีกด้วย
มาเข้าเรื่องลำไยกันต่อ นอกจากการนำมาปรุงทำเป็นเมนูอาหารแล้ว ชาวจีนเชื่อว่าลำไยมีสรรพคุณทางยา 2 ประการ
ลำไย และสรรพคุณทางยา
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแพทย์แผนโบราณยังรู้อีกว่า ส่วนอื่นๆ ของลำไย พูดได้เลยว่าแต่รากจรดปลายใบ ก็สามารถนำมาใช้เป็นยาได้ด้วย ดังที่บอกไปแล้วถึงสรรพคุณจากส่วนต่างๆ ของต้นลำไย ในบทความก่อนหน้า แต่รู้ว่าเป็นยาก็ไม่เท่ารู้ว่าจะนำส่วนต่างๆ มาใช้ยังไงถึงจะให้เป็นยาถูกไหมคะ ดังนั้นเราจะมารู้ถึงวิธีการนำส่วนต่างๆ ของลำไยไปใช้ ทั้งใบลำไย ดอกลำไย เมล็ดลำไย รากลำไย เปลือกผลของลำไย เนื้อหุ้มเมล็ดของลำไย แต่ละส่วนจะมีสรรพคุณที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้จ้า
7 ข้อที่ผ่านมาเรารู้แล้วว่าส่วนต่างๆ ของลำไยทำอะไรได้บ้าง บางท่านอาจจะสงสัยแล้วว่าแล้วต้องใช้ในอัตราส่วนเท่าไหร่ถึงจะดูดี ใช้ได้ผล ครั้งนี้เราไปต่อกันเกี่ยวกับเรื่องขนาด และวิธีใช้ที่เหมาะสำหรับทำยา
ทั้งหมดนี้อ้อมนำมาจากหนังสือเก่าเก็บค่ะ อ่านแล้วได้ความรู้เลยนำมาแชร์ต่ออีกที เป็นหนังสือเรื่องลำไย ชื่อหนังสือ ฉันชื่อลำไย บำรุงหัวใจบำรุงประสาท ของคุณปัญหา ไฟศาลอนันต์ ค่ะ แชร์เรื่องราวของลำไยไว้ดีมากๆ ทำให้ได้รู้เรื่องราวดีๆ ของลำไยในหลายเรื่องที่อ้อมไม่เคยรู้ ทั้งนี้ยังมีหนังสือเล่มอื่นที่อ้อมได้อ่านและเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลำไยเอาไว้ด้วย ยังไงจะนำข้อมูลที่กรั่นกรองจากการอ่านมาแชร์เรื่องราวดีๆ ให้ทราบต่อๆ กันอีกทีนะคะ หวังว่าทุกคนคงมองลำไยในมุมใหม่กันแล้ว และหันมารับประทานลำไยกันมากขึ้นนะคะ ผลไม้ไทยมีอะไรดีๆ อีกเยอะมากๆ จ้า
มาเข้าเรื่องลำไยกันต่อ นอกจากการนำมาปรุงทำเป็นเมนูอาหารแล้ว ชาวจีนเชื่อว่าลำไยมีสรรพคุณทางยา 2 ประการ
- ถ้าหากกินในปริมาณที่เหมาะสมลำไยเป็นยาบำรุงหัวใจ และม้าม เพราะชาวจีน ให้ความสำคัญกับหัวใจที่มีผลเกี่ยวเนื่องถึงสมอง อารมณ์ และจิตใจ ขณะที่ม้ามนั้นจะเกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหาร และการดูดซึมทั้งหมด เหมาะลำหรับผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ ทรุดโทรม เช่น สตรีหลังคลอดบุตร สตรีที่มีประจำเดือนมาก คนไข้ที่เพิ่งฟืนจากอาการป่วยหนัก คนที่เบื่ออาหาร หรือมีอาการอาหารไม่ย่อย
- ลำไยให้ประโยชน์ด้านการบำรุง เลือด ซึ่งจะช่วยให้นอนหลับง่าย คลายความเครียด และความวิตกกังวล ตามตำราการแพทย์แผนไทยก็มีการนำลำไยมาใช้เป็นยารักษา โรคเช่นกัน เพราะเนื้อลำไยนั้นมีสรรพคุณแก้ผอมแห้งแรงน้อย นอนไม่หลับ ขี้ลม ใจสั่น บำรุงร่างกาย บำรุงประสาท ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
ลำไย และสรรพคุณทางยา รวมถึงวิธีการกินให้เป็นยา |
ลำไย และสรรพคุณทางยา
รวมถึงวิธีการกินให้เป็นยา
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแพทย์แผนโบราณยังรู้อีกว่า ส่วนอื่นๆ ของลำไย พูดได้เลยว่าแต่รากจรดปลายใบ ก็สามารถนำมาใช้เป็นยาได้ด้วย ดังที่บอกไปแล้วถึงสรรพคุณจากส่วนต่างๆ ของต้นลำไย ในบทความก่อนหน้า แต่รู้ว่าเป็นยาก็ไม่เท่ารู้ว่าจะนำส่วนต่างๆ มาใช้ยังไงถึงจะให้เป็นยาถูกไหมคะ ดังนั้นเราจะมารู้ถึงวิธีการนำส่วนต่างๆ ของลำไยไปใช้ ทั้งใบลำไย ดอกลำไย เมล็ดลำไย รากลำไย เปลือกผลของลำไย เนื้อหุ้มเมล็ดของลำไย แต่ละส่วนจะมีสรรพคุณที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้จ้า- ใบลำไย ส่วนของใบจะมีรสจืด และชุ่ม ถือเป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย แก้ริดสีดวงทวาร ฝีหัวขาด และแก้ไข้หวัดได้ดี
- ดอกลำไย ส่วนของดอกเราจะใช้ดอกสด หรือตากแห้งแล้วเก็บไว้ใช้เป็นยาแก้โรคที่เกี่ยวกับหนองทั้งหลาย
- เมล็ดลำไย ส่วนของเมล็ดจะต้มหรือบดเป็นผงกิน รสชาติจะมีรสฝาด ใช้ภายนอกจะรักษา กลากเกลื้อน แผลมีหนอง แก้ปวด สมานแผล ใช้ห้ามเลือดก็ได้
- เปลือกผลของลำไย ควรใช้เปลือกผลที่แห้งแล้วนำมาต้มน้ำกิน สรรพคุณแก้อาการวิงเวียนศีรษะ และอ่อนเพลีย ทำให้สดชื่น หรือใช้ทาภายนอก โดยเผาเป็นเถ้า หรือบดเป็นผง โรยแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
- เนื้อผลของลำไย ให้นำมาต้มน้ำกิน หรือแช่กับเหล้า สรรพคุณถือเป็นยาบำรุงม้าม เลือดลม และหัวใจ บำรุงร่างกาย สงับประสาท แก้อ่อนเพลียจากการทำงาน ขี้หลงขี้ลืมง่าย นอนไม่หลับ ประสาทอ่อน ช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย รักษา อาการตัวบวมในสตรีที่คลอดบุตร สูตรนี้แนะนำเลยจ้า
- เมล็ดลำไย ใช้ทาแผลเน่าเปื่อย คัน หรือแผลเรื้อรังที่มีหนอง ช่วยรักษาเกลื้อน ใช้ห้ามเลือด ขับปัสสาวะ
- เปลือกของต้นลำไย มีสีนํ้าตาลอ่อนหรือเทา จะมีรสชาตที่ฝาด ใช้ต้ม เป็นยาหม้อแก้ท้องร่วงได้ดี
7 ข้อที่ผ่านมาเรารู้แล้วว่าส่วนต่างๆ ของลำไยทำอะไรได้บ้าง บางท่านอาจจะสงสัยแล้วว่าแล้วต้องใช้ในอัตราส่วนเท่าไหร่ถึงจะดูดี ใช้ได้ผล ครั้งนี้เราไปต่อกันเกี่ยวกับเรื่องขนาด และวิธีใช้ที่เหมาะสำหรับทำยา
- สำหรับคนที่เป็นไข้มาลาเรีย ใช้ใบสดๆ กับปอขี้ตุ่น(ชื่อเรียกแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกันนะคะ)เลือกเอาที่แห้ง 10-20 กรัม และน้ำ 2 แก้ว ผสมเหล้าอีก 1 แก้ว ต้มให้เหลือน้ำแค่เพียง 1 แก้ว กินก่อนมีอาการไข้ 2 ชั่วโมง สำหรับปอขี้ตุ่นบางคนอาจจะ งง มันคือ ไม้พุ่มค่ะ ลางพื้นที่ก็เรียก ขี้อ้น,เข้ากี่น้อย, ปอขี้ไก่,ปอมัดโป, ยำแย่,ไม้หมัด เป็นต้น ลองนำชื่อไปค้นใน Google ดูก็จะเห็ฯภาพจ้า
- หากพบว่าเป็นแผลเน่าเปื่อย หรือมีอาการคัน ใช้เมล็ดลำไยเผาเป็นเถ้าแล้วทาตรงบริเวณ ที่เป็นแผลเน่าเปื่อย หรือที่มีอาการคัน
- แก้อาการปัสสาวะขัด ใช้เนื้อในเมล็ดทุบให้แตกแล้วต้มน้ำกิน
- แก้กลากเกลื้อน ใช้เนื้อในเมล็ดชุบน้ำส้มสายชูที่หมักจากข้าว ถูทาตรงที่เป็นกลากเกลื้อน
- ใช้เมล็ดเผาเป็นเถ้า ผสมกับน้ำมันมะพร้าวทารักษาแผลเรื้อรัง และแผลที่มีหนองได้
- ใช้เนื้อในเมล็ดลำไยบดเป็นผง พอกแผลหกล้ม หรือแผลมีดบาด จะช่วยห้ามเลือด และลดอาการปวดของแผลลงได้
- ใช้ดอกลำไยสดประมาณ 30 กรัม ต้มผสมกับเนื้อหมู กิน 3-5 ครั้ง จะช่วยขับปัสสาวะ หรือแก้ปัสสาวะขุ่นขาวได้ดี
- ใช้ดอกลำไยสดประมาณ 5-30 กรัม ต้มน้ำกินจะช่วยแก้โรค เกี่ยวกับหนองทั้งหลาย
- สำหรับคนที่กำลังท้องเสีย เนื้อลำไยช่วยบรรเทาได้จ้า ใช้เนื้อลำไย 14 ผล ต้มกับขิงสด ประมาณ 3 แว่น แล้วดื่มแต่น้ำก็จะค่อยๆ ดีขึ้นค่ะ
- สำหรับผู้หญิงหลังคลอดบุตรแล้วมีอาการบวมตามตัว ให้ดื่มน้ำต้มเนื้อลำไยกับลูกพุทราจีน และขิงสด แล้วอาการบวมจะค่อยๆ ลดลงจ้า
- นำผลลำไยแช่เหล้าไว้ประมาณ 3 เดือน แล้วเอามาทานวัน ละแก้วเป๊ค จะช่วยบำรุงหัวใจ และทำให้ร่างกายให้แข็งแรง
- ลำไยตากแห้งสามารถนำมาทำเป็นชาชง ใช้ดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง ช่วยให้หลับสบาย รวมทั้งมีสรรพคุณเป็นยาเจริญอาหาร
- รากหรือเปลือกราก ต้มน้ำกิน หรือเดี่ยวให้ข้นผสมกิน มี รสฝาด แก้สตรีตกขาวมากผิดปกติ ขับพยาธิเส้นด้าย
- ใช้เมล็ดเผาเป็นเถ้าผสมกับน้ำมันมะพร้าว แล้วนำไปทารักษา แผลเน่าเปื่อย คัน หรือแผลเรื้อรังที่มีหนอง
ทั้งหมดนี้อ้อมนำมาจากหนังสือเก่าเก็บค่ะ อ่านแล้วได้ความรู้เลยนำมาแชร์ต่ออีกที เป็นหนังสือเรื่องลำไย ชื่อหนังสือ ฉันชื่อลำไย บำรุงหัวใจบำรุงประสาท ของคุณปัญหา ไฟศาลอนันต์ ค่ะ แชร์เรื่องราวของลำไยไว้ดีมากๆ ทำให้ได้รู้เรื่องราวดีๆ ของลำไยในหลายเรื่องที่อ้อมไม่เคยรู้ ทั้งนี้ยังมีหนังสือเล่มอื่นที่อ้อมได้อ่านและเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลำไยเอาไว้ด้วย ยังไงจะนำข้อมูลที่กรั่นกรองจากการอ่านมาแชร์เรื่องราวดีๆ ให้ทราบต่อๆ กันอีกทีนะคะ หวังว่าทุกคนคงมองลำไยในมุมใหม่กันแล้ว และหันมารับประทานลำไยกันมากขึ้นนะคะ ผลไม้ไทยมีอะไรดีๆ อีกเยอะมากๆ จ้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น